ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: ต้อหิน (Glaucoma)  (อ่าน 4 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 197
  • ประกาศฟรี , ลงประกาศฟรี , โพสฟรี โปรโมทฟรี โฆษณาสินค้าฟรี ลงประกาศฟรี โพสฟรี
    • ดูรายละเอียด
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: ต้อหิน (Glaucoma)
« เมื่อ: วันที่ 6 พฤศจิกายน 2024, 22:48:50 น. »
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: ต้อหิน (Glaucoma)

ต้อหิน หมายถึง ภาวะที่มีความผิดปกติภายในลูกตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม เกิดอาการตามัวตาบอดได้ ส่วนใหญ่มักพบว่ามีความดันลูกตาสูง (high intraocular pressure)*

ต้อหินเป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย และพบมากขึ้นตามอายุ พบได้ประมาณร้อยละ 3 ของผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และประมาณร้อยละ 6 ของผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ถือว่าเป็นโรคตาที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการตาบอดถาวร

ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ผู้ป่วยมักมีประวัติโรคต้อหินในครอบครัว นอกจากนี้ โรคนี้ยังพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด สายตายาว สายตาสั้นชนิดรุนแรง การได้รับบาดเจ็บที่ตา หรือผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์ (โดยเฉพาะยาหยอดตาสเตียรอยด์) ติดต่อกันนาน ๆ

*ปกติภายในลูกตาจะมีการสร้างของเหลวหลายอย่าง ของเหลวที่สำคัญอันหนึ่งอยู่ตรงช่องว่างระหว่างกระจกตากับแก้วตา ซึ่งเรียกว่า ช่องลูกตาหน้า (anterior chamber) ของเหลวชนิดนี้มีลักษณะใส เรียกว่า น้ำเลี้ยงลูกตา (aqueous humor) ซึ่งจะไหลเวียนจากด้านหลังของม่านตา (iris) ผ่านรูม่านตา (pupil) เข้าไปในช่องลูกตาหน้า แล้วระบายออกนอกลูกตาโดยผ่านมุมแคบ ๆ ระหว่างม่านตากับกระจกตาดำเข้าไปในตะแกรงระบายเล็ก ๆ ที่มีชื่อว่า ท่อชเลมส์ (Schlemm’s canal) เข้าสู่หลอดเลือดดำที่อยู่นอกลูกตา

น้ำเลี้ยงในลูกตา ก่อให้เกิดแรงดันภายในลูกตา (ซึ่งช่วยพยุงรูปทรงของลูกตาให้ทำหน้าที่ได้เป็นปกติ) เรียกว่า "ความดันลูกตา (intraocular pressure/IOP)" ร้อยละ 95 ของคนทั่วไปจะมีความดันลูกตา 10-21 มม.ปรอท (เฉลี่ย 15-16 มม.ปรอท) ถ้าความดันลูกตามีค่ามากกว่า 21 มม.ปรอท ก็ถือว่าเป็นความดันลูกตาสูง

ถ้าหากการระบายของน้ำเลี้ยงลูกตาดังกล่าวเกิดการติดขัดด้วยสาเหตุใดก็ตาม ก็จะทำให้มีการคั่งของน้ำเลี้ยงลูกตา และทำให้ความดันภายในลูกตาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นโรคต้อหิน หากปล่อยทิ้งไว้ ขั้วประสาทตา (optic disc) ตรงส่วนหลังของจอตาถูกทำลาย ขั้วประสาทตาเป็นตัวนำกระแสประสาทการมองเห็นไปสู่สมอง ซึ่งเมื่อขั้วประสาทตาถูกทำลายจะทำให้สูญเสียลานสายตาลงทีละน้อย จนกลายเป็นตาบอดอย่างถาวรในที่สุด

แม้ว่าผู้ที่เป็นต้อหินส่วนใหญ่มักพบร่วมกับภาวะความดันลูกตาสูง แต่ผู้ป่วยต้อหินบางรายอาจมีความดันลูกตาปกติก็ได้ เรียกว่า "Normal pressure glaucoma/Normal-tension glaucoma" ซึ่งจะพบในผู้ป่วยที่เป็นต้อหินชนิดความดันลูกตาปกติ ซึ่งเป็นต้อหินมุมเปิด (open-angle glaucoma) ชนิดหนึ่ง

ผู้ที่มีภาวะความดันลูกตาสูงบางรายก็อาจไม่เกิดภาวะประสาทตาเสื่อม (กลายเป็นต้อหิน) ก็ได้ เรียกภาวะนี้ว่า "Ocular hypertension" อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นต้อหินตามมาได้ ซึ่งจำเป็นต้องติดตามดูอาการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ป่วยที่มีความดันลูกตามากกว่า 27 มม.ปรอท มีโอกาสสูงที่จะทำให้ประสาทตาถูกทำลาย ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้ยาลดความดันลูกตาเพื่อป้องกันโรคต้อหิน

ต้อหินเกิดจากท่อระบายน้ำเลี้ยงลูกตาอุดตัน

สาเหตุ

ต้อหินสามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิดขึ้นกับสาเหตุที่พบ ในที่นี้จะกล่าวถึงชนิดที่พบได้บ่อย ได้แก่

1. ต้อหินชนิดมุมเปิดมีความดันลูกตาสูง (primary open-angle glaucoma) เป็นต้อหินที่พบได้บ่อยกว่าชนิดอื่น พบได้ประมาณร้อยละ 70-80 ของโรคต้อหินทั้งหมด พบบ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีช่องลูกตาหน้าและมุมระบายน้ำเลี้ยงลูกตากว้างตามปกติ แต่ท่อชเลมส์ซึ่งเป็นตะแกรงระบายน้ำเลี้ยงลูกตาเกิดการอุดกั้น ซึ่งค่อย ๆ เกิดขึ้นเป็นเวลาแรมปีโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้น้ำเลี้ยงลูกตาคั่งและความดันในลูกตาสูงขึ้น เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ คือ มักจะพบว่ามีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย นอกจากนี้ยังพบในผู้ที่สายตาสั้นชนิดรุนแรง หรือในผู้ป่วยเบาหวาน (ซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนที่ตา โดยมีหลอดเลือดผิดปกติเกิดขึ้นในบริเวณกล้ามเนื้อม่านตาไปทำให้เกิดการอุดกั้นทางระบายน้ำเลี้ยงลูกตาที่อยู่ใกล้กัน)

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคนี้ เนื่องจากไม่มีอาการแสดงให้เห็น จนกระทั่งมีความผิดปกติของการเห็นเกิดขึ้นอย่างถาวรแล้ว ต้อหินชนิดนี้ได้ชื่อว่า "ต้อหินชนิดมุมเปิดแบบเรื้อรัง (chronic open-angle glaucoma)" ซึ่งจัดว่าเป็นโรคภัยเงียบชนิดหนึ่ง

2. ต้อหินชนิดมุมปิด (angle-closure glaucoma/closed-angle glaucoma/narrow-angle glaucoma) พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากชนิดมุมเปิดที่มีความดันลูกตาสูง ผู้ป่วยมีโครงสร้างของลูกตาผิดแปลกไปจากคนปกติ คือมีช่องลูกตาหน้าแคบและตื้น จึงมีมุมระบายน้ำเลี้ยงลูกตา (มุมระหว่างกล้ามเนื้อม่านตากับกระจกตา) แคบกว่าปกติ ต้อหินชนิดนี้เกิดมากในผู้ที่สายตายาว เพราะมีกระบอกตาสั้นและช่องลูกตาหน้าแคบ และเกิดในผู้สูงอายุเป็นส่วนมาก เพราะแก้วตาจะหนาตัวขึ้นตามอายุ ทำให้ช่องลูกตาหน้าที่แคบอยู่แล้วยิ่งแคบมากขึ้นไปอีก จึงมีโอกาสเกิดต้อหินมากขึ้น

พบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ต้อหินชนิดนี้สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ จึงมักพบมีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นโรคนี้ร่วมด้วย

ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีอาการเกิดขึ้นเฉียบพลัน เรียกว่า "ต้อหินชนิดมุมปิดแบบเฉียบพลัน (acute angle-closure glaucoma)" อาการมักเกิดขึ้นทันทีเมื่อมีสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อม่านตาหดตัว (รูม่านตาขยายตัว) เช่น อยู่ในที่มืดหรือโรงภาพยนตร์ มีอารมณ์โกรธ ตกใจ เสียใจ ใช้ยาหยอดตาที่เข้ากลุ่มยาอะโทรพีน หรือใช้ยาแอนติสปาสโมดิก ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้รูม่านตาขยาย เป็นต้น ก็จะทำให้มุมระบายน้ำเลี้ยงลูกตาถูกปิดกั้นฉับพลัน น้ำเลี้ยงลูกตาเกิดคั่งอยู่ในลูกตา ทำให้เกิดความดันในลูกตาสูงขึ้นฉับพลัน เป็นผลให้เกิดอาการต้อหินเฉียบพลัน ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้ในเวลาสั้น ๆ จัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางตาของโรคนี้

ผู้ป่วยอีกส่วนหนึ่งมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป เรียกว่า "ต้อหินชนิดมุมปิดแบบเรื้อรัง (chronic angle-closure glaucoma)" ผู้ป่วยจะมีอาการแบบเดียวกับโรคต้อหินเรื้อรัง มักไม่มีอาการในระยะแรก จนกว่าจะมีการสูญเสียการมองเห็นมากขึ้น แต่ต่อมาบางรายอาจเกิดการอุดกั้นของทางระบายน้ำเลี้ยงลูกตาแทรกซ้อนขึ้นฉับพลัน ก็จะเกิดอาการของโรคต้อหินแบบเฉียบพลันได้

3. ต้อหินชนิดความดันลูกตาปกติ (normal-tension glaucoma) เป็นต้อหินที่พบได้น้อยกว่า 2 ชนิดดังกล่าว มีลักษณะอาการแบบเดียวกับต้อหินมุมเปิดชนิดเรื้อรังที่มีความดันลูกตาสูง ต้อหินชนิดนี้มีความดันลูกตาปกติ (มักมีค่าต่ำกว่า 21 มม.ปรอท) แต่ประสาทตาถูกทำลายแบบเดียวกับต้อหินที่มีความดันลูกตาสูงโดยไม่ทราบสาเหตุ สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากประสาทตามีความไวต่อการถูกทำลาย หรืออาจเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงประสาทตาเนื่องจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ (atherosclerosis เช่นที่พบในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองตีบ) หรือมีภาวะอื่นที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงประสาทตาได้น้อย

มักพบว่ามีประวัติต้อหินชนิดนี้ในครอบครัว หรือมีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือด ไมเกรน (เนื่องเพราะมีภาวะหลอดเลือดแดงตาตีบขณะไมเกรนกำเริบ) โรคภูมิต้านตัวเอง (ออโตอิมมูน) บางชนิด ภาวะเลือดหนืด หลอดเลือดหดตัวง่าย หรือความดันโลหิตต่ำในช่วงกลางคืน (low nocturnal blood pressure)

4. เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคตาอื่น ๆ เช่น ม่านตาอักเสบ ต้อกระจก เนื้องอกในลูกตา ปานแดงปานดำในลูกตา เลือดออกในลูกตา ตาถูกกระแทกแรง ๆ การผ่าตัดตา เป็นต้น

5. เกิดจากการใช้ยาหยอดตาที่เข้าสเตียรอยด์นาน ๆ ยานี้จะทำให้ความดันในลูกตาสูง ถ้าคนที่มีความดันในลูกตาสูงอยู่ก่อนแล้ว หากใช้ยานี้ก็จะเกิดโรคต้อหินได้ โดยมากจะเกิดอาการหลังหยอดยานาน 6-8 สัปดาห์ หลังหยุดยาความดันในลูกตาจะลดลงสู่ระดับเดิม

6. ต้อหินในเด็ก ซึ่งพบได้น้อย อาจมีอาการตั้งแต่เกิด หรือในช่วงอายุ 2-3 ปี ประสาทตาอาจถูกทำลายเนื่องจากตะแกรงระบายน้ำเลี้ยงลูกตาเกิดการอุดกั้น หรืออาจเกิดจากความผิดปกติอื่น ๆ


อาการ

ในรายที่เป็นต้อหินแบบเฉียบพลัน มีอาการปวดลูกตาและศีรษะข้างหนึ่งอย่างฉับพลันรุนแรงและนานเป็นวัน ๆ ร่วมกับอาการตาพร่ามัว มองเห็นแสงสีรุ้ง และคลื่นไส้อาเจียน

บางรายอาจมีอาการปวดตา ตาแดง ตาพร่า เห็นแสงสีรุ้งเป็นพัก ๆ นำมาก่อนเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน ซึ่งมักจะเป็นตอนหัวค่ำ หรือเมื่อท้องฟ้าเริ่มมืดหรืออยู่ในที่มืด หรือขณะมีอารมณ์หงุดหงิด กังวล โกรธ เพราะจะมีเลือดไปคั่งที่ม่านตา มุมระบายน้ำเลี้ยงลูกตาที่แคบอยู่แล้วยิ่งแคบลงไปอีก พอนอนพักหรือเป็นอยู่นาน 1-2 ชั่วโมงก็บรรเทาได้เอง

ผู้ป่วยมักจะมีอาการเพียงข้างเดียว แต่ตาอีกข้างหนึ่งก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นต้อหินชนิดเฉียบพลันเช่นกัน

ในรายที่เป็นต้อหินแบบเรื้อรัง มีอาการตามัวลงทีละน้อย ๆ เป็นแรมปี โดยในระยะแรกผู้ป่วยมักจะไม่รู้สึกมีอาการผิดปกติแต่อย่างใด บางรายอาจรู้สึกมึนศีรษะเล็กน้อย อาจรู้สึกอ่านหนังสือแล้วปวดเมื่อยตาเล็กน้อย หรือตาล้า ตาเพลีย และตาพร่าเร็วกว่าธรรมดา ส่วนใหญ่แพทย์อาจตรวจพบโดยบังเอิญขณะที่ไปตรวจรักษาด้วยโรคอื่น

ต่อมาผู้ป่วยจะมีลานสายตาแคบลงกว่าเดิมมาก คือ มองไม่เห็นด้านข้าง อาจขับรถลำบากเพราะมองไม่เห็นรถที่อยู่ทางซ้ายและขวา หรือรถแซง รถสวน หรือเวลาเดินอยู่ในบ้าน อาจชนถูกขอบโต๊ะ ขอบเตียง ขอบประตู ขอบบันได

บางรายอาจรู้สึกว่าตามัวลงเรื่อย ๆ ต้องคอยเปลี่ยนแว่นอยู่บ่อย ๆ แต่ก็ไม่รู้สึกดีขึ้น

ในระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะมีอาการตามัวอย่างมาก และอาจมีอาการปวดตาร่วมด้วย ซึ่งเมื่อถึงระยะนี้ประสาทตาก็มักจะเสียจนแก้ไขไม่ได้

ผู้ป่วยมักจะมีอาการที่ตาทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน


ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะความดันสูงภายในลูกตาจะทำลายขั้วประสาทตาจนเสื่อม ทำให้ลานสายตาแคบ และตาบอดถาวรได้

ภาวะลานสายตาแคบมักเป็นภาวะแทรกซ้อนของต้อหินแบบเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยไม่มีอาการชัดเจนและไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม ผู้ป่วยจะมีอาการมองไม่เห็นด้านข้าง ทำให้เดินชนขอบโต๊ะ ขอบเตียง ขอบประตู ขอบบันได เดินสะดุดหกล้ม หรือเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถได้


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย ซึ่งมีสิ่งตรวจพบดังนี้

ในรายที่เป็นต้อหินแบบเฉียบพลัน จะพบมีอาการตาแดงเรื่อ ๆ ที่บริเวณรอบ ๆ ตาดำมากกว่าบริเวณที่อยู่ห่างจากตาดำออกไป กระจกตามีลักษณะขุ่นมัวไม่ใสเช่นปกติ รูม่านตาข้างที่ปวดจะโตกว่าข้างปกติ และเมื่อใช้ไฟฉายส่องจะไม่หดลง เมื่อใช้นิ้วกดลูกตา โดยให้ผู้ป่วยมองต่ำ ใช้นิ้วชี้ทั้ง 2 ข้างกดลงบนเปลือกตาบนจะรู้สึกว่าตาข้างที่ปวดมีความแข็งมากกว่าข้างที่ปกติ

ในรายที่เป็นเรื้อรัง อาจตรวจไม่พบความผิดปกติที่สังเกตจากภายนอกได้ชัดเจน

แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัด โดยการตรวจตาด้วยเครื่องตรวจตา ตรวจลานสายตา ตรวจลักษณะมุมตาและขั้วประสาทตา และวัดความดันลูกตา ซึ่งมักจะพบว่าสูงเกินปกติ (ค่าปกติประมาณ 10-21 มม.ปรอท)

การรักษาโดยแพทย์

ในรายที่เป็นเฉียบพลัน แพทย์จะทำการรักษาด้วยยาลดความดันลูกตา ร่วมกับการรักษาด้วยเแสงเลเซอร์หรือการผ่าตัด เพื่อเปิดทางระบายน้ำเลี้ยงตา

    ยาลดความดันลูกตามีให้เลือกใช้หลายชนิด ซึ่งอาจใช้เดี่ยว ๆ หรือใช้ร่วมกันก็ได้ อาทิ ยากลุ่ม carbonic anhydrase inhibitors ชนิดกิน (เช่น acetazolamide, methazolamide), ยาหยอดตาที่มีตัวยาปิดกั้นบีตา (เช่น timolol), ยาหยอดตากลุ่ม carbonic anhydrase inhibitors (เช่น dorzolamide, brinzolamide), ยาหยอดตากลุ่ม alpha-adrenergic agonists (เช่น apraclonidine, brimonidine), ยาหยอดตากลุ่ม cholinergic agents (เช่น pilocarpine), ยาหยอดตากลุ่มพรอสตาแกลนดิน (เช่น brimonidine)

โดยทั่วไปการรักษาดังกล่าวจะช่วยลดความดันลูกตาให้เป็นปกติภายในไม่กี่ชั่วโมง

การรักษาด้วยแสงเลเซอร์หรือการผ่าตัด ถ้าสามารถทำภายใน 12-48 ชั่วโมงหลังมีอาการ ก็จะมีโอกาสหายขาดได้ แต่ถ้าไม่ได้รักษาประสาทตาจะเสียและตาบอดได้ ภายใน 2-5 วันหลังมีอาการ

นอกจากนี้ แพทย์จะพิจารณาทำการผ่าตัดเปิดทางระบายน้ำเลี้ยงลูกตาของตาข้างที่ปกติให้ด้วย เพราะปล่อยไว้อาจมีโอกาสกลายเป็นต้อหินเฉียบพลันในภายหลังได้

ในรายที่เป็นเรื้อรัง แพทย์จะให้ยาหยอดตา และ/หรือยากินลดความดันลูกตา ถ้าได้ผลก็จำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง และคอยตรวจวัดความดันลูกตาไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าไม่ได้ผลมักต้องรักษาด้วยแสงเลเซอร์หรือการผ่าตัดเพื่อเปิดทางระบายน้ำเลี้ยงตา

ผลการรักษา สำหรับต้อหินแบบเฉียบพลัน หากได้รับการรักษาได้ทันการณ์ก็จะหายได้โดยเร็วและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ส่วนต้อหินแบบเรื้อรังส่วนใหญ่จะต้องใช้ยารักษาอย่างต่อเนื่อง ถ้าได้รับการรักษาก่อนที่ขั้วประสาทตาถูกทำลาย ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้สายตาผิดปกติ (ลานสายตาแคบ) ได้ แต่ถ้าได้รับการรักษาหลังจากขั้วประสาทตาถูกทำลายไปบางส่วน ก็จะป้องกันไม่ให้สายตาผิดปกติมากขึ้น

การดูแลตนเอง

หากสงสัยว่าเป็นต้อหิน ควรปรึกษาแพทย์ แต่ถ้ามีอาการปวดตาและตามัวซึ่งเกิดขึ้นเฉียบพลัน หรือสงสัยเป็นต้อหินแบบเฉียบพลัน ควรไปพบแพทย์ด่วน เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคนี้ ควรปฏิบัติ ดังนี้

    รักษา ปฏิบัติตัว และติดตามการรักษาตามที่แพทย์แนะนำ
    หลีกเลี่ยงการซื้อยากินและยาหยอดตามาใช้เอง เพราะยาบางชนิด (เช่น อะโทรพีน และกลุ่มยาแอนติสปาสโมดิก ที่ใช้รักษาอาการปวดท้อง ท้องเดิน) อาจทำให้โรคต้อหินกำเริบได้


ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

    ดูแลรักษาแล้วอาการไม่ทุเลา 
    มีอาการปวดศีรษะและปวดตารุนแรง คลื่นไส้อาเจียน ตาแดงหรือตามัวมากขึ้น
    ขาดยา ยาหาย หรือกินยาไม่ได้ หรือมีอาการที่สงสัยว่าเป็นผลข้างเคียงจากยาหรือแพ้ยา   

การป้องกัน

โรคนี้ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผลดี แต่อาจลดความเสี่ยงหรือชะลอการเกิดต้อหินได้ด้วยการปฏิบัติตัว ดังนี้

    หมั่นตรวจเช็กสุขภาพตารวมทั้งวัดความดันลูกตา ทุก 5-10 ปีสำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 40 ปี, ทุก 2-4 ปีสำหรับผู้ที่อายุ 40-54 ปี, ทุก 1-3 ปีสำหรับผู้ที่อายุ 55-64 ปี, และทุก 1-2 ปีสำหรับผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป

ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีประวัติโรคต้อหินในครอบครัว ควรตรวจถี่กว่าปกติ เช่น ทุกปี หรือตามที่แพทย์แนะนำ

    เมื่อตรวจพบว่ามีความดันในลูกตาสูง ควรใช้ยาหยอดตาที่มีตัวยาลดความดันลูกตา และหมั่นติดตามดูการเปลี่ยนแปลงอาการตามที่แพทย์แนะนำ
    หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำตามวิธีที่แพทย์แนะนำ (เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ) มีส่วนช่วยลดความดันลูกตา ป้องกันโรคต้อหินได้
    ใส่อุปกรณ์ป้องกันตาเวลาทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บต่อดวงตา (ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดต้อหินได้)
    ควบคุมโรคประจำตัว (เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต) ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ข้อแนะนำ

1. ต้อหินแม้ว่าจะเป็นโรคที่ร้ายแรงซึ่งทำให้ตาบอดได้ แต่ถ้าได้รับการรักษาเสียแต่เนิ่น ๆ ก็มีทางรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น ถ้าพบผู้ที่มีอาการปวดตา ตามัว สงสัยว่าจะเป็นต้อหิน ควรปรึกษาแพทย์และรับการรักษาให้ทันท่วงที

2. เนื่องจากโรคนี้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีแม้ว่าจะรู้สึกสบายดี ควรตรวจวัดความดันลูกตาเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีประวัติว่ามีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน

3. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาสเตียรอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาหยอดตาที่เข้าสเตียรอยด์ (ที่ใช้แก้อาการแพ้หรืออาการของตาอักเสบ) นาน ๆ หรือยาหยอดตาที่เข้าอะโทรพีน หรือยาที่ทำให้รูม่านตาขยายตัว เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการต้อหิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีความดันลูกตาสูง (โดยไม่รู้ตัว) อยู่ก่อนแล้ว

 























































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า